การใช้เสียงพูด
การออกเสียงพูด เป็นพื้นฐานขั้นแรก ที่ผู้เรียนควรปฏิบัติให้เกิดความคุ้นเคย เกี่ยวกับลักษณะของเสียงในภาษาที่เราได้ใช้พูดคุยกัน ก็คือ การใช้ภาษาไทย  ภาษาไทย คือภาษาที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนมาตั้งแต่เด็ก เริ่มจากการฝึกเขียน ตัว กไก่ ไปจนถึง ตัว ฮ  นกฮูก  สระ และวรรณยุกต์  จนถึงการออกเสียงพูดอ่าน ให้เกิดความคุ้นเคย แล้วจึงค่อยฝึกการเขียนด้วยการผสมพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์รวมเข้าด้วยกัน จึงได้เกิดเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ ให้เราได้ใช้พูดสื่อสารแสดงความหมายความรู้สึกต่อกัน  ลักษณะของการพูดภาษาไทยในบางคำ ก็ย่อมใช้ลิ้นบังคับ จึงทำให้เกิดเสียงได้อย่างถูกต้องถูกความหมาย ให้ความรู้สึกถึงเจตนารมณ์ของภาษาที่เราได้ใช้  รวมถึงการเริ่มต้นที่จะขยับริมฝีปากให้ถูกต้อง ในการออกเสียงพูดภาษาไทยในบางคำจะมีลักษณะของการพูดไม่เหมือนกัน  ถ้าผู้เรียนออกเสียงพูดใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องถูกวิธี ก็ย่อมเป็นผลดีต่อผู้เรียนเอง ที่ได้ผ่านเข้ามาสู่การเรียนรู้ในอีกระดับหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว  ผู้เรียนบางคนจะมีอุปสรรคในการออกเสียงพูดซึ่งไม่ถูกวิธีด้วยกัน ก็ย่อมต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขในการออกเสียง เช่น ผู้เรียนขยับริมฝีปากใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง  ผู้เรียนออกเสียงพูดทุกคำโดยไม่ใช้ลิ้นบังคับเสียง หรือเป็นการพูดแบบลิ้นคับปาก ผู้เรียนออกเสียงพูดโดยให้ลมขึ้นออกมาทางจมูกมากเกินไป จึงไม่เกิดความเป็นธรรมชาติของการออกเสียง  โดยปกติแล้วการออกเสียงพูดส่วนใหญ่ ลมจะออกมาทางปากมากกว่าทางจมูก ซึ่งฟังแล้วจะได้เสียงที่เป็นธรรมชาติมาก  การเริ่มต้นของผู้เรียน ที่จะนำความรู้เข้ามาสู่ตนเองนั้น ย่อมหมายความว่า ผู้เรียนจะได้รับการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตนเองโดยไม่รู้สึกตัว  การเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงรับเอาสิ่งใหม่ๆเข้ามา ย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกับผู้เรียนเอง เพราะยังมีสิ่งสองสิ่งผสมรวมกันอยู่ เช่น การออกเสียงที่ยังเป็นของเดิมของผู้เรียน  กับการออกเสียงที่เป็นของใหม่ที่ผู้เรียนจะได้รับเข้ามา  บางครั้งผู้เรียนก็ยังติดกับการออกเสียงที่เป็นของเดิมอยู่ เพราะผู้เรียนเองยังไม่ได้ลบการออกเสียงที่เป็นของเดิมของเก่าของตนเองออก  และการลบของเดิมออกผู้เรียนเองต้องตั้งใจสมัครใจที่จะลบของเดิมออก ทิ้งของเก่าออกให้หมดอย่าเสียดาย  ดังนั้นการลบออกจะใช้เวลาในการลบได้อย่างรวดเร็วก็คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่จะค่อยๆลบออกทีละนิดทีละน้อย จนกว่าของเก่าจะหมดไป ก็จะเหมือนนำเอาเปลือกนอกของผู้เรียนออก กะเทาะออกเอาสิ่งที่เป็นของเดิมเป็นทิฐิออก ก็จะเห็นความบริสุทธิ์ของผู้เรียน และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นด้วยการรับเรียนรู้นำเอาสิ่งใหม่เข้ามาได้อย่างมากมายเช่นกัน
การออกเสียงตัวพยัญชนะ
การออกเสียงตัวพยัญชนะจะมีระดับเสียงอยู่ด้วยกัน 3 ระดับคือ
1 พยัญชนะที่มีระดับเสียงต่ำจะมีพยัญชนะอยู่ 24 ตัวคือ
ค ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ท ธ ณ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
การออกเสียงตัวพยัญชนะที่มีระดับเสียงต่ำ  ให้ผู้เรียนออกเสียงที่ลำคอ หรือเนื้อคำร้องที่เป็นเมโลดี้เสียงต่ำ ให้ขับร้องออกเสียงที่ลำคอ ถ้าตัวพยัญชนะเสียงต่ำอยู่ในเนื้อคำร้องที่เป็นเมโลดี้เสียงสูง ก็จะทำให้การออกเสียงนั้นยากขึ้น
2 พยัญชนะที่มีระดับเสียงกลางจะมีพยัญชนะอยู่ 9 ตัวคือ
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
การออกเสียงตัวพยัญชนะที่มีระดับเสียงกลาง  ให้ผู้เรียนปิดคอ แล้วออกเสียงที่แก้มกระพุ้งแก้ม หรือเนื้อคำร้องที่เป็นเมโลดี้เสียงกลาง ให้ออกเสียงขับร้องที่แก้ม
3 พยัญชนะที่มีระดับเสียงสูงจะมีพยัญชนะอยู่ 11 ตัวคือ
ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ห
การออกเสียงตัวพยัญชนะที่มีระดับเสียงสูง  ให้ผู้เรียนขับร้องออกเสียงที่ริมฝีปาก
การออกเสียงพูด
การออกเสียงพูด ลักษณะการออกเสียงพูดดังต่อไปนี้ ให้ผู้เรียนออกเสียงพูดโดยใช้การกำเนิดเสียงที่แก้ม หรือกระพุ้งแก้มหรือการพูดใช้ระดับเสียงกลาง  การพูดที่ใช้ระดับเสียงกลาง จะให้สัญญาณเสียงที่ใสและมีความคมชัดมากกว่าการพูดที่ใช้ระดับเสียงต่ำที่ลำคอ        
การฝึกลมหายใจ
การฝึกลมหายใจ เพื่อให้ผู้เรียนมีพลังของลมหายใจที่เข้มแข็งดีกว่าปกติจากเดิม  วิธีฝึกลมหายใจ  ให้ผู้เรียนยืนขึ้นแล้วหายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆให้เต็มปอด  พอรู้สึกว่าสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด แล้วให้ผู้เรียนกลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วหายใจเข้าทางปากให้เร็วที่สุด จึงหายใจออกโดยการเป่าลมออกให้มีลักษณะคล้ายกับการผิวปาก หรือเป่าให้ลมพุ่งออกเป็นพวยยาว  เมื่อเวลาเป่าลมออกหมดแล้ว ร่างกายของเราก็ต้องการออกซิเจนมากขึ้น ให้ผู้เรียนหายใจเข้าทางปากให้เร็วที่สุดอีกหนึ่งถึงสองครั้ง เพื่อให้ได้อ๊อกซิเจนจำนวนมากๆ แล้วเป่าลมออกมาให้มีลักษณะคล้ายกับการผิวปาก หรือเป่าลมให้พุ่งออกเป็นพวยยาวเหมือนเดิม  
 การฝึกออกกำลังกาย
ให้ผู้เรียนฝึกออกกำลังกายโดยการบริหารร่างกายส่วนที่สำคัญคือ ลำคอ หัวไหล่ หน้าอก และท้อง  เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการออกเสียงขับร้องมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ของการออกกำลังกายคือ  มีพลังในการใช้ลมออกเสียงขับร้องได้ดี กล้ามเนื้อและอวัยวะภายในร่างกายแข็งแรงขึ้น  การฝึกออกกำลังกาย เพียงใช้พื้นที่เล็กๆ ก็สามารถฝึกปฏิบัติได้  เช่นพื้นที่ภายในบ้านในห้องที่เป็นส่วนตัว  หลังจากผู้เรียนฝึกออกกำลังกายแล้ว ให้ผู้เรียนฝึกลมหายใจควบคู่กันไปจึงจะสมบูรณ์ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนควรฝึกให้ได้ความสม่ำเสมอทุกครั้ง      
การรักษาเสียงร้อง 
การดูแลรักษาเสียงร้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนควรรู้จักประเภทของอาหาร และเครื่องดื่มที่ทำให้เสียงของผู้ขับร้องถดถอยลง  เครื่องดื่มที่ทำให้เกิดน้ำลายเหนียว  ได้แก่ เครื่องดื่มที่อัดลมทุกชนิด หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโซดา  นม  กาแฟผสมครีมหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม  ประเภทเครื่องดื่มที่มีรสฝาดทำให้คอแห้ง  ได้แก่น้ำชา  นมเปรี้ยว  น้ำเต้าหู้  หรือเครื่องดื่มชูกำลัง  อาหารที่มีน้ำจิ้มรสจัด หากรับประทานแล้วจะทำให้เกิดคอแห้งมากๆ  ได้แก่ลูกชิ้นย่าง  ปลาหมึกย่าง  ไส้กรอกย่างหรืออาหารประเภทยำทุกชนิดที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด  อาหารขบเคี้ยวที่มีรสเค็มทำให้คอแห้ง  ได้แก่ถั่วทอด  มันฝรั่งทอดหรืออาหารที่อบเค็มทุกชนิด  ผลไม่ที่ต้องจิ้มพริกเกลือ  ได้แก่มะม่วง  ชมพู่  ฝรั่ง  ฯลฯ  ผลไม่ที่ทำให้คอแห้ง  ได้แก่ลำไย  หรือลูกอมที่สกัดมาจากผลไม้ และหมากฝรั่ง  ก่อนที่ผู้เรียนจะออกดเสียงขับร้องภายใน 30 นาทีข้างหน้าที่จะถึงนี้ให้ผู้เรียนดูแลรักษาเสียงร้องของตนเอง โดยการจิบน้ำอุ่นหรือจิบน้ำเปล่าก็สามารถทำให้เสียงของผู้ขับร้องมีความสดใสเป็นปกติ ให้งดอาหารและเครื่องดื่มที่กล่าวมาข้างต้นนี้ 
การใช้ลำดับกล่องเสียง 
การเลือกใช้ลำดับกล่องเสียงในการออกเสียงขับร้องเพลงซึ่งมีลักษณะดังนี้
1  ท้อง จุดกำเนิดของลมที่เกิดขึ้นภายในท้อง  คือการใช้ลมจากท้อง เพื่อส่งขึ้นมายังถังเก็บลมคือปอด
2  ปอด คือที่เก็บลมหรือถังเก็บลมขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถยืดหยุ่นตัวได้ บังคับการถ่ายเทลมให้มีความเร็ว-ช้าได้
3  ลำคอ การกำเนิดของเสียงที่เกิดขึ้นจากลำคอ  คือการใช้เสียงจากลำคอออกเสียงขับร้องเพลง
4  แก้มกระพุ้งแก้ม หรือถังเก็บลมขนาดเล็ก ซึ่งสามารถยืดหยุ่นตัวได้ บังคับการถ่ายเทลมได้ออกเสียงได้  คือการใช้เสียงที่แก้ม หรือกระพุ้งแก้มออกเสียงขับร้องเพลง
5  ริมฝีปาก การกำเนิดของเสียงที่เกิดจากริมฝีปาก  คือการใช้เสียงจากริมฝีปากออกเสียงขับร้องเพลง
6  ไรฟัน การกำเนิดเสียงที่เกิดขึ้นจากไรฟัน  คือการใช้เสียงจากไรฟันออกเสียงตัวพยัญชนะ  เช่น ตัว ส ซ ฟ ฝ  ออกเสียงขับร้องเพลง
7  จมูก การกำเนิดของเสียงที่เกิดขึ้นจากจมูก  คือการใช้เสียงจากจมูกออกเสียงขับร้องเพลงให้เกิดเป็นเสียง  ฮือ
คำพยัญชนะที่ออกเสียงขับร้องไม่ชัดเจน   
การออกเสียงขับร้องที่ให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป  หรือการออกเสียงขับร้อง ซึ่งพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำนั้นได้ตกหล่นหายไป  พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำที่ออกเสียงไม่ชัดเจน มีดังต่อไปนี้
พยัญชนะตัว   ง    เช่นคำว่า  เอง  ห่าง
พยัญชนะตัว   น   เช่นคำว่า  นาน  ขาน
พยัญชนะตัว   ย    เช่นคำว่า  หาย  ดาย
พยัญชนะตัว   ร    เช่นคำว่า  จร
พยัญชนะตัว   ว    เช่นคำว่า  เปลี่ยว
คำที่ออกเสียงขับร้องยาก
คำที่ออกเสียงขับร้องยาก ส่วนมากจะเป็นคำของการออกเสียงระรัวด้วยการกระดกลิ้น  ตัว  ร  และตัว  ล    เช่น  ใคร่คร่ำครวญ  เริงรื่นร่ายรำ  เรไรหริ่งหรีด  ร่ำเรื่อยรื่นรมย์  คลุมครอบคลื้นเคลง  และคำที่ออกเสียงขับร้องยาก  เช่นคำว่า ไม่  ให้  ได้  ที่  มาก  นี้
การออกเสียงขับร้องคำที่เป็นเสียงสั้น  เปลี่ยน  ให้เป็นเสียงยาว
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำต่อไปนี้ที่เป็นเสียงสั้นเปลี่ยนให้เป็นเสียงยาว  โดยให้มีเสียงสระโออยู่หน้าเสียง และเป็นเสียงของวรรณยุกต์ตรี เช่นคำว่า  คบ  ออกเสียงขับร้องให้เป็นเสียงยาว  เป็นคำว่า  โค๊บ  คือเสียงของวรรณยุกต์ตรี
เช่นคำว่า  พบ  ออกเสียงขับร้องให้เป็นเสียงยาว  เป็นคำว่า  โพ๊บ  คือเสียงของวรรณยุกต์ตรี
เทคนิคการออกเสียงขับร้อง
เทคนิคการออกเสียงขับร้อง  หรือวิธีการใช้ลักษณะของเสียง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ที่ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนในการใช้ลักษณะของเสียง  เพื่อที่จะนำมาใช้ในการออกเสียงขับร้องได้อย่างหลากหลายวิธี  และจะได้เป็นผู้ที่ชำนาญในการออกเสียงขับร้องได้ดีต่อไปในภายภาคหน้า  เทคนิคการออกเสียงขับร้องจะอยู่ในเรื่องของการ ตอบข้อคำถาม
การออกเสียงขับร้องตามตัวโน้ต
ให้ผู้เรียนออกเสียงตามตัวโน้ตทั้ง 7 ตัวคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  โด  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  เร  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  มี  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  ฟา  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  ซอล  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  ลา  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องคำว่า  ที  แล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงที่ขับร้องออกมาว่ามีลักษณะของลมทำให้เกิดเสียงเป็นเช่นไร
การออกเสียงขับร้องรวมตัวโน้ต                                                                             
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องรวมตัวโน้ตดังต่อไปนี้
โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
1 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว โด  C
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัว ดำ
โด เร มี – มี เร โด – โด เร มี เร มี เร โด
2 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว เร  D
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัว ดำ 
เร มี ฟา – ฟา มี เร – เร มี ฟา มี ฟา มี เร
3 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว มี  E
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัว ดำ
มี ฟา ซอล – ซอล ฟา มี – มี ฟา ซอล ฟา ซอล ฟา มี
4 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว ฟา  F
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัว ดำ
ฟา ซอล ลา – ลา ซอล ฟา – ฟา ซอล ลา ซอล ลา ซอล ฟา
5 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว ซอล  G
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัวดำ 
ซอล ลา ที – ที ลา ซอล – ซอล ลา ที ลา ที ลา ซอล
6 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว ลา  A
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัว ดำ
ลา ที โด – โด ที ลา – ลา ที โด ที โด ที ลา
7 เริ่มต้นออกเสียงด้วยตัว ที  B
ให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องให้ค่าความยาวของเสียงเป็นโน้ตตัว ดำ
ที โด เร – เร โด ที – ที โด เร โด เร โด ที
การฝึกโสตประสาทหูโดยการฟังเสียงของดนตรี
ให้ผู้เรียนฝึกโสตประสาทหูโดยการฟังเสียง ไวโอลีน หรือเดี่ยวไวโอลีน วิธีฝึกฟังเสียงมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1  ฟังการบรรเลงที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ระดับของอารมณ์
2  ฟังการบรรเลงที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ
3  ฟังการไหลลื่นของเสียงแล้วใช้ความรู้สึกจับเสียงตามทางของเสียงที่เกิดขึ้น หรือทางของเสียงที่น่าจะเป็นไปได้ หรือทางของเสียงที่เป็นไปได้ในทางสูตรสำเร็จ
4  ฟังการแบ่งประโยคของเสียง การหยุดเสียง และฟังประโยคของเสียงในท่อนต่อไป
5  ฟังในประโยคของเสียงว่า เสียงใดเป็นเสียงต่ำที่สุด และเสียงใดเป็นเสียงสูงที่สุด
6  ฟังแล้วแยกระดับของเสียงออกเป็น 3 อ็อคเต็ป
7  ฟังให้เห็นภาพลักษณะของสัญญาณเสียงว่ามีลักษณะใด
8  ฟังน้ำหนักของเสียงที่มีระดับความลึกด้วยการบีบอัดเสียง หรือกดเสียงให้มีความลึกต่างระดับของน้ำหนัก หรือการเน้นเสียง
9  ฟังลักษณะภาพโดยรวมทั้งหมด
การเลือกบทเพลงนำมาขับร้อง
การเลือกบทเพลงที่จะนำมาขับร้อง  เพลงที่จะนำมาขับร้องซึ่งเป็นเพลงของศิลปินชายหรือหญิงที่มีชื่อเสียงแล้วซึ่งผู้เรียนได้รู้จักและคุ้นเคยดี  ให้ผู้เรียนตรวจสอบเนื้อเสียงของตนเองว่า  เนื้อเสียงของผู้เรียนนี้มีลักษณะอยู่ในกลุ่มเสียงของศิลปินคนใดแล้วให้ผู้เรียนเลือกนำบทเพลงของศิลปินคนนั้นนำมาขับร้อง
อธิบายเนื้อหาแนวเพลงดนตรี  
เมื่อผู้เรียนเลือกบทเพลงที่จะนำมาขับร้องได้ดีแล้ว  ให้ผู้เรียนบอกถึงแนวเพลงดนตรีหรือนำเสนอแนวเพลงว่าเป็นแนวเพลงดนตรีใด  แล้วอธิบายเนื้อหาของเพลงว่าเป็นเพลงเกี่ยวกับอะไร  เช่นเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรักซึ่งผิดหวัง  มีตัวแสดงในเรื่องกี่ตัวและมีสิ่งใดมาผูกพันเกี่ยวข้องบ้างแล้วสรุปเนื้อหาของบทเพลง
การปฏิบัติออกเสียงขับร้อง
ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติออกเสียงขับร้องเพลง
1 ออกเสียงขับร้องเพลง  ช้า
2 ออกเสียงขับร้องเพลงเร็ว
โดยให้ผู้เรียนออกเสียงขับร้องเพลงช้าเป็นเพลงแรกก่อน
 แล้วจึงตามด้วยต่อไปเป็นเพลงเร็ว
การเข้าสู่โหมดของการบันทึกเสียงร้อง
ให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อมให้ได้เป็นอย่างดีโดยการฝึกฝนให้เกิดความคุ้นเคย
เกิดความชำนาญในความสามารถของผู้เรียนให้ได้ดีสูงขึ้นเข้าสู่ในระดับหนึ่ง